📝กลุ่มงานพัฒนาสุขภาพจิต แบ่งออกเป็น ๔ งาน ประกอบด้วย
1 งานพัฒนาสุขภาพจิตปฐมวัย วัยเรียน และวัยรุ่น มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้
1.1 กำหนดมาตรการสร้างเสริมสุขภาพจิต เด็กปฐมวัย วัยเรียน และวัยรุ่น
1.2 พัฒนาองค์ความรู้ เทคโนโลยี นวัตกรรม และมาตรฐานการดำเนินงานด้านส่งเสริมสุขภาพจิตและป้องกันปัญหาสุขภาพจิตที่สอดคล้อง และรองรับสถานการณ์ด้านสุขภาพจิตเด็กปฐมวัย วัยเรียน และวัยรุ่น รวมทั้งติดตามประเมินผล
1.3 ศึกษาและวิจัยเพื่อพัฒนาการดำเนินงานด้านส่งเสริมสุขภาพจิตและป้องกันปัญหาสุขภาพจิตเด็กปฐมวัย วัยเรียน และวัยรุ่น
1.4 พัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายการพัฒนาด้านส่งเสริมสุขภาพจิตและป้องกันปัญหาสุขภาพจิตเด็กปฐมวัย วัยเรียน และวัยรุ่น
1.5 ขับเคลื่อนให้เกิดระบบการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพจิตและป้องกันปัญหาสุขภาพจิตเด็กปฐมวัย วัยเรียน และวัยรุ่น ที่มีคุณภาพมาตรฐาน ร่วมกับการเสริมสร้างความรอบรู้และการมีพฤติกรรมสุขภาพจิตที่พึงประสงค์
1.6 พัฒนาศักยภาพเครือข่ายที่เกี่ยวข้องที่เป็นกลไกในการส่งเสริมสุขภาพจิตและป้องกันปัญหาสุขภาพจิตเด็กปฐมวัย วัยเรียน และวัยรุ่น
1.7 พัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศด้านการส่งเสริมสุขภาพจิตและป้องกันปัญหาสุขภาพจิตเด็กปฐมวัย วัยเรียน และวัยรุ่น
1.8 นิเทศ กำกับ ติดตาม ให้การปรึกษาทางวิชาการด้านการส่งเสริมสุขภาพจิตและป้องกันปัญหาสุขภาพจิตเด็กปฐมวัย วัยเรียน และวัยรุ่น
1.9 ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
1.10 ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย
2 งานพัฒนาสุขภาพจิตวัยทำงาน มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้
2.1 กำหนดมาตรการสร้างเสริมสุขภาพจิตวัยทำงาน
2.2 พัฒนาองค์ความรู้ เทคโนโลยี นวัตกรรม และมาตรฐานการดำเนินงานด้านส่งเสริมสุขภาพจิตและป้องกันปัญหาสุขภาพจิตที่สอดคล้องและรองรับสถานการณ์ด้านสุขภาพจิตวัยทำงาน รวมทั้งติดตามประเมินผล
2.3 ศึกษาและวิจัยเพื่อพัฒนาการดำเนินงานด้านส่งเสริมสุขภาพจิตและป้องกันปัญหาสุขภาพจิตวัยทำงาน
2.4 พัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายการพัฒนาด้านส่งเสริมสุขภาพจิตและป้องกันปัญหาสุขภาพจิตวัยทำงาน
2.5 ขับเคลื่อนให้เกิดระบบการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพจิตและป้องกันปัญหาสุขภาพจิตวัยทำงาน ที่มีคุณภาพมาตรฐาน ร่วมกับการเสริมสร้างความรอบรู้และการมีพฤติกรรมสุขภาพจิตที่พึงประสงค์
2.6 พัฒนาศักยภาพเครือข่ายที่เกี่ยวข้องที่เป็นกลไกในการส่งเสริมสุขภาพจิตและป้องกันปัญหาสุขภาพจิตวัยทำงาน
2.7 พัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศด้านการส่งเสริมสุขภาพจิตและป้องกันปัญหาสุขภาพจิตวัยทำงาน
2.8 นิเทศ กำกับ ติดตาม ให้การปรึกษาทางวิชาการด้านการส่งเสริมสุขภาพจิตและป้องกันปัญหาสุขภาพจิตวัยทำงาน
2.9 ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
2.10 ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย
3 งานพัฒนาสุขภาพจิตวัยสูงอายุ มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้
3.1 กำหนดมาตรการสร้างเสริมสุขภาพจิตวัยสูงอายุ
3.2 พัฒนาองค์ความรู้ เทคโนโลยี นวัตกรรม และมาตรฐานการดำเนินงานด้านส่งเสริมสุขภาพจิตและป้องกันปัญหาสุขภาพจิตที่สอดคล้องและรองรับสถานการณ์ด้านสุขภาพจิตวัยสูงอายุ รวมทั้งติดตามประเมินผล
3.3 ศึกษาและวิจัยเพื่อพัฒนาการดำเนินงานด้านส่งเสริมสุขภาพจิตและป้องกันปัญหาสุขภาพจิตวัยสูงอายุ
3.4 พัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายการพัฒนาด้านส่งเสริมสุขภาพจิตและป้องกันปัญหาสุขภาพจิตวัยสูงอายุ
3.5 ขับเคลื่อนให้เกิดระบบการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพจิตและป้องกันปัญหาสุขภาพจิตวัยสูงอายุ ที่มีคุณภาพมาตรฐาน ร่วมกับการเสริมสร้างความรอบรู้และการมีพฤติกรรมสุขภาพจิตที่พึงประสงค์
3.6 พัฒนาศักยภาพเครือข่ายที่เกี่ยวข้องที่เป็นกลไกในการส่งเสริมสุขภาพจิตและป้องกันปัญหาสุขภาพจิตวัยสูงอายุ
3.7 พัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศด้านการส่งเสริมสุขภาพจิตและป้องกันปัญหาสุขภาพจิตวัยสูงอายุ
3.8 พัฒนากำกับ ติดตาม ให้คำปรึกษาทางวิชาการด้านการส่งเสริมสุขภาพจิตและป้องกันปัญหาสุขภาพจิตวัยสูงอายุ
3.9 ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
3.10 ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย
4 กลุ่มงานพัฒนาสุขภาพจิตระบบปฐมภูมิ มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้
4.1 กำหนดมาตรการดำเนินงานสุขภาพจิตในระบบปฐมภูมิ
4.2 พัฒนาระบบ องค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรมด้านสุขภาพจิตให้สอดคล้องและรองรับสถานการณ์ด้านสุขภาพจิตและบริบทในพื้นที่อย่างเหมาะสม
4.3 ศึกษาและวิจัยเพื่อพัฒนาการดำเนินงานสุขภาพจิตในระบบปฐมภูมิ
4.4 พัฒนาข้อเสนอแนะเชิงนโยบายการพัฒนาการดำเนินงานสุขภาพจิตในระบบปฐมภูมิ
4.5 ผลักดันและสนับสนุนการขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านสุขภาพจิตในระบบปฐมภูมิ ที่มีคุณภาพมาตรฐาน และครอบคลุมในระดับพื้นที่เขตสุขภาพและเครือข่ายทางสังคมอื่น ๆ ทั้งในภาครัฐภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ร่วมกับการเสริมสร้างความรอบรู้และการมีพฤติกรรมสุขภาพจิตที่พึงประสงค์
4.6 ผลิตและพัฒนาศักยภาพบุคลากรและเครือข่ายที่เป็นกลไกในการดำเนินงานสุขภาพจิตในระบบปฐมภูมิ
4.7 พัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศด้านการดำเนินงานสุขภาพจิตในระบบปฐมภูมิ
4.8 กำกับ นิเทศ และให้คำแนะนำทางวิชาการด้านการดำเนินงานสุขภาพจิตในระบบปฐมภูมิ
4.9 ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
4.10 ปฏิบัติงานอื่น ๆ ที่ได้รับมอบหมาย